สำนักงานคณะกรรมการนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมแห่งชาติ, United Nations Conference on Trade and Development (UNCTAD),
How to make world balancing about investment and profit for all???
ข้อเสนอแนวทางการปฎิรูปวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (วทน.)
ร่วมกันแสดงความคิดเห็นนะคะ
เวทีเสวนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 1]
- หลักการและเหตุผล
ในขณะที่สังคมไทยเกิดภาวะความแตกต่างทางความคิดเห็นอย่างมาก กระนั้นคนส่วนใหญ่ยังคิดตรงกันว่าประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูปในหลากหลายมิติ ไม่เพียงแต่ในมิติด้านการเมือง เศรษฐกิจและสังคมเท่านั้น ในอดีตที่ผ่านมา บทบาทของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมต่อการพัฒนาประเทศมักถูกละเลยและประเทศไทยก็ติดกับดักประเทศที่มีรายได้ปานกลาง (middle-income trap) ไม่สามารถเปลี่ยนสถานะจากประเทศกำลังพัฒนาไปสู่ประเทศพัฒนาแล้ว ที่มีโครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรมได้
การปฏิรูปประเทศให้มีสภาพเศรษฐกิจและสังคมที่เป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในการพัฒนาระหว่างเมืองและชนบท ประชาชนหลุดพ้นจากความยากจน และให้ประเทศมีขีดความสามารถในการแข่งขันในเวทีโลก ประเทศไทยจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงประเทศไปสู่การเป็นสังคมฐานความรู้ (knowledge-based society) และเศรษฐกิจฐานความรู้ (knowledge-based economy) ดังนั้น ท่ามกลางสภาวะวิกฤตที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่ ถือเป็นโอกาสให้ทุกภาคส่วนในประเทศหันมาตระหนักถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ที่จะมีบทบาทอย่างยิ่งต่อการพัฒนาประเทศในทุกมิติอย่างยั่งยืน
ที่ผ่านมา ประเทศไทยมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาและการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมค่อนข้างน้อย โดยมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาต่ำกว่าร้อยละ 0.25 ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มาเป็นระยะเวลานาน อย่างไรก็ดี ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา มีความตระหนักในภาคเอกชนอย่างกว้างขวางถึงความสำคัญของวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ รวมทั้งการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งของสังคมและชุมชน โดยมีการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาในภาคเอกชนเพิ่มขึ้นถึง2.6 เท่า (จาก8,000 ล้านบาท ในปี 2549 มาเป็น 20,680 ล้านบาท ในปี 2554) ขณะที่ภาครัฐลงทุน 11,550 ล้านบาทในปี 2549 และ 20,186 ล้านบาทในปี2554 ทำให้การลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศในปัจจุบันเพิ่มขึ้นเป็นประมาณร้อยละ 0.4 ต่อ GDP หรือประมาณ 41,000 ล้านบาท
ปัจจุบันจึงเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญที่เศรษฐกิจและสังคมไทยจะมีการปรับโครงสร้างไปสู่การใช้ความรู้เข้มข้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการกระตุ้นให้เกิดการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 1 ต่อ GDP โดยภาคเอกชนมีสัดส่วนการลงทุนร้อยละ 70 ของมูลค่าการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาทั้งหมด ตามเป้าหมายที่สำนักงานคณะกรรมนโยบายวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม (สวทน.) ตั้งไว้
ในการบรรลุเป้าหมายข้างต้น จำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างและการดำเนินงานด้านการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ โดยพัฒนากลไกและระบบที่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ทั้งนี้ ประเทศไทยจำเป็นต้องมีกลไกที่เชื่อมโยงการตัดสินใจในระดับนโยบายไปจนถึงระดับปฏิบัติ เพื่อให้เกิดฉันทามติร่วมกันในการผลักดันให้มีการใช้วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อพัฒนาประเทศ กลไกที่สำคัญที่ต้องได้รับการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน ประกอบด้วย
· กลไกการให้คำปรึกษาด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ต่อนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี
· กลไกงบประมาณและการจัดสรรทรัพยากรเพื่อการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
· กลไกรัฐสภาเพื่อสนับสนุนการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
· กลไกความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน ด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม
นอกจากกลไกข้างต้นแล้ว ประเทศไทยจำเป็นต้องมีการปฏิรูประบบการดำเนินการที่รองรับการพัฒนาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม อย่างรอบด้านและครบทุกมิติ โดยสิ่งที่ประเทศจำเป็นต้องมีการปฏิรูปอย่างเร่งด่วน อาทิเช่น
·ระบบกฎหมาย จำเป็นต้องมีการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายให้เอื้อต่อการนำวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาประเทศ อาทิเช่น กฎหมายส่งเสริมการใช้ประโยชน์เชิงพาณิชย์จากผลงานวิจัย กฎหมายส่งเสริมการถ่ายทอดเทคโนโลยี และนโยบายการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐที่ส่งเสริมการสร้างตลาดเทคโนโลยีและนวัตกรรม
· ระบบแรงจูงใจ ที่มีประสิทธิผล คล่องตัว และรวดเร็ว อาทิเช่น การปรับปรุงสิทธิประโยชน์ทางภาษีแก่บริษัทเอกชนที่ดำเนินการวิจัยและพัฒนาและกิจกรรมนวัตกรรม โดยเฉพาะแก่ผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม รวมทั้งปรับปรุงกระบวนการพิจารณาอนุมัติให้มีความคล่องตัวและรวดเร็วยิ่งขึ้น
· ระบบทรัพย์สินทางปัญญา จำเป็นต้องมีปฏิรูประบบการให้บริการจดทะเบียนทรัพย์สินทางปัญญา ให้มีประสิทธิภาพรวดเร็วได้มาตรฐานสากล และสามารถรองรับพลวัตรการเปลี่ยนทางการค้าและภูมิเศรษฐกิจ ทั้งในประชาคมอาเซียนและประชาคมโลก
·มาตรการทางการเงิน จำเป็นต้องมีการพัฒนามาตรฐานทางการเงินเพื่อส่งเสริมให้เกิดการลงทุนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมตลอดกระบวนการ ตั้งแต่การการพัฒนาแนวความคิด การสร้างต้นแบบผลิตภัณฑ์ การทดลองผลิต ไปจนถึงการขยายเชิงพาณิชย์ โดยเฉพาะสำหรับผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs)
· โครงสร้างพื้นฐาน จำเป็นต้องมีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่จำเป็นต่อการพัฒนาประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม และเพื่อให้ประเทศมีระบบนิเวศทางนวัตกรรมที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาอุทยานวิทยาศาสตร์ภูมิภาค และการยกระดับห้องปฏิบัติการวิจัยและศูนย์ทดสอบมาตรฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อส่งเสริมการสร้างมูลค่าเพิ่มแก่อุตสาหกรรมที่ประเทศไทยมีศักยภาพ อาทิเช่น เกษตรและอาหาร สุขภาพ พลังงานและสิ่งแวดล้อม
· ทรัพยากรมนุษย์ จำเป็นต้องมีการปฏิรูปโครงสร้างและการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยผลักดันให้เกิดมาตรการเร่งรัดการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี อาทิเช่น การผลักดันให้บุคลากรวิจัยภาครัฐไปปฏิบัติงานในภาคเอกชน (Talent Mobility) เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนนักวิจัยของภาคเอกชน และการยกระดับความสามารถด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์ และคณิตศาสตร์ (STEM) เพื่อตอบสนองความต้องการแรงงานทักษะสูงของภาคอุตสาหกรรม
ดังนั้น สวทน. ในฐานะหน่วยงานของรัฐที่มีภารกิจสำคัญในการวางแผนและขับเคลื่อนนโยบายและแผนด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงเห็นเห็นควรให้มีการจัดเวทีเสวนา “วิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อการปฏิรูปประเทศ ครั้งที่ 1” ขึ้น เพื่อเปิดโอกาสให้เกิดการสร้างความตระหนัก การพูดคุย การแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และเกิดข้อเสนอแนะในการปฏิรูปและขับเคลื่อนอนาคตประเทศด้วยวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรมร่วมกันจากผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย
- วัตถุประสงค์
|
เทคโนโลยีที่พร้อมจะถ่ายทอด
เทคโนโลยีที่พร้อมจะถ่ายทอด คือ รายชื่อเทคโนโลยีในส่วน ของกระทรวงวิทยศาสตร์ ฯ และเทคโนโลยีของสถาบันการศึกษาที่เป็นเครือข่ายคลินิกเทคโนโลยี มีความพร้อมที่จะถ่ายทอดให้กับประฃาชน กลุ่มเกษตรกร กลุ่มแม่บ้าน โดยการจัดการผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต ซึ่งข้อมูลจะมีการปรับปรุงทุกครั้งที่มีการบันทึกข้อมูลสู่ฐานข้อมูล
หน่วยงานรับผิดชอบ : สำนักส่งเสริมและถ่ายทอดเทคโนโลยี
ข่าวที่เกี่ยวข้อง :
https://www.youtube.com/watch?v=cxTF1wL06Q4
http://www.most.go.th/main/index.php/news/procurement-news/2176.html
UNCTAD and the Post-2015 Sustainable Development Agenda
The United Nations Secretary-General has established the United Nations System Task Team on the Post-2015 United Nations Development Agenda (Task Team).
Co-chaired by the Department of Economic and Social Affairs and the United Nations Development Programme, the Task Team assembles more than 60 United Nations agencies and international organizations.
UNCTAD involvement
UNCTAD works within the framework of the entire United Nations system to follow up processes related to the Review of the MDGs and the preparations for the post-2015 United Nations development agenda. This entails collaboration and coordination with other United Nations agencies, funds and programmes as well as amongst different divisions and branches of the UNCTAD secretariat.
The work of UNCTAD takes place at three levels:
- At the intergovernmental level (General Assembly, Economic and Social Council, Commission on Sustainable Development/high-level political forum, governing bodies of organizations of the United Nations system).
- At the United Nations system inter-agency level (including the Executive Committee on Economic and Social Affairs plus, the Task Team and issue-driven networks/platforms).
- At the level of all people who look to their leaders to identify and act on the major challenges ahead. (Through civil society organizations, the private sector and academia).
UNCTAD seeks to contribute to the definition of a single and comprehensive post-2015 United Nations development agenda with sustainable development at its core.
http://unctad-worldinvestmentforum.org/
http://unctad-worldinvestmentforum.org/
http://www.sti.or.th/th/images/stories/files/reform/STI-REFORM-Group1.pdf
No comments:
Post a Comment